เดิน ส่อง ย่าน: Historical Walk - ร้านอาหารสวนกุหลาบ
ร้านสวนกุหลาบ: ความผสมผสานที่ดำรงอยู่
ร้านสวนกุหลาบ เป็นร้านอาหารสไตล์ไทยจีน ที่ถือเป็นหนึ่งในร้านดังของย่านอารีย์เลยทีเดียว ชื่อร้านมีที่มาจาก ‘โรงเรียนสวนกุหลาบ’ ที่ผู้ก่อตั้งร้านเคยหาบหมูสะเต๊ะขายในโรงเรียนอยู่หลายปี แต่เดิมกิจการของร้านตั้งอยู่ที่วงเวียนเล็ก ฝั่งธน และในสโมสรราชนาวี ท่าช้าง ต่อมาจึงย้ายมาอยู่ที่ซอยอารีย์สัมพันธ์ ช่วงหลังปีพ.ศ. 2540
แม้ซอยอารีย์สัมพันธ์เป็นเขตที่อยู่อาศัยดั้งเดิมของคนในพื้นที่ และเป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการหลายแห่ง แต่หากคุณเดินสำรวจบริเวณนี้จะพบร้านอาหารทั้งใหม่และเก่าแทรกตัวอยู่ติดกับบ้านพักอาศัย สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นเอกลักษณ์สำคัญของย่านอารีย์ ในการเป็นย่านที่ใช้ประโยชน์จากพื้นที่อย่าง ผสมผสาน หรือ Mixed Use คือ เป็นทั้งที่อยู่อาศัยและพื้นที่พาณิชยกรรม
โดยกายภาพ พื้นที่ย่านอารีย์มีการเชื่อมต่อกันระหว่างซอยต่างๆ ดี บรรยากาศคล้ายย่านนิมมานเหมินทร์ของเชียงใหม่ และเป็นย่านที่แสดงสัญญะการบริโภคแบบชนชั้นกลาง ที่มีความเก๋และชิคไม่แพ้กัน มีผู้ลงทุนจากภายนอกจำนวนไม่น้อยสนใจเข้ามาทำธุรกิจในพื้นที่
แต่ทำไมอารีย์จึงยังคงลักษณะความผสมผสานไว้ได้ ไม่ถูกเปลี่ยนไปเป็นร้านค้าแทบทั้งพื้นที่แบบย่านนิมมานฯ?
จากการสำรวจของ UddC พบข้อสังเกตที่น่าสนใจว่าปรากฏการนี้อาจเป็นเพราะ อารีย์มีกลุ่มคนหลายฝ่ายช่วยคานอำนาจการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการที่คนในอารีย์มีอำนาจต่อรองจากหลายปัจจัย ได้แก่ 1. มูลค่าที่ดินที่สูงขึ้นจากการตัดผ่านของรถไฟฟ้าและการพัฒนาเมือง 2. มีการรวมกลุ่มกันอย่างแข็งขัน ยากที่จะยอมขายที่ดินหรือย้ายออกไป 3. คนในอารีย์มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ กับผู้มีอำนาจในพื้นที่อยู่เสมอ เช่น โน้มน้าวไม่ให้เกิดการสร้างคอนโดฯ เพิ่มขึ้น เพราะเห็นว่าอารีย์มีตึกสูงเยอะเกินไปแล้ว
สิ่งต่างๆ เหล่านี้จึงทำให้อารีย์ยังคงมีทั้งที่อยู่อาศัยและพื้นที่พาณิชกรรมรวมอยู่ด้วยกันได้อย่างน่าสนใจ
เดิน!:
“ตามหาร้านขายยา ใกล้ๆ หน้ากรมประชาสัมพันธ์ ระหว่างทางคุณจะพบร้านอาหารเก๋ๆ หลายร้าน และ ครีเอทีฟสแปซ แห่งใหม่ของอารีย์อย่าง Made Here on Earth ที่มีเครื่องมือเครื่องจักรให้คุณเข้ามาใช้สร้างสรรค์งานด้วยตัวเองได้”

ภาพ Made Here on Earth ภาพจาก https://www.bkkmenu.com/restaurant/Made-Here-on-Earth
ส่อง! :
“เส้นทางที่คุณจะได้พบข้างหน้า อาจจะไม่มีทางเท้าให้คุณเดิน คุณจะมีวิธีเดินอย่างไร? และมีวิธีไหนบ้างที่จะทำให้การเดินบนถนนที่ไม่มีทางเท้านั้นปลอดภัยยิ่งขึ้น?
ร้านสวนกุหลาบ: ความผสมผสานที่ดำรงอยู่
ร้านสวนกุหลาบ เป็นร้านอาหารสไตล์ไทยจีน ที่ถือเป็นหนึ่งในร้านดังของย่านอารีย์เลยทีเดียว ชื่อร้านมีที่มาจาก ‘โรงเรียนสวนกุหลาบ’ ที่ผู้ก่อตั้งร้านเคยหาบหมูสะเต๊ะขายในโรงเรียนอยู่หลายปี แต่เดิมกิจการของร้านตั้งอยู่ที่วงเวียนเล็ก ฝั่งธน และในสโมสรราชนาวี ท่าช้าง ต่อมาจึงย้ายมาอยู่ที่ซอยอารีย์สัมพันธ์ ช่วงหลังปีพ.ศ. 2540
แม้ซอยอารีย์สัมพันธ์เป็นเขตที่อยู่อาศัยดั้งเดิมของคนในพื้นที่ และเป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการหลายแห่ง แต่หากคุณเดินสำรวจบริเวณนี้จะพบร้านอาหารทั้งใหม่และเก่าแทรกตัวอยู่ติดกับบ้านพักอาศัย สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นเอกลักษณ์สำคัญของย่านอารีย์ ในการเป็นย่านที่ใช้ประโยชน์จากพื้นที่อย่าง ผสมผสาน หรือ Mixed Use คือ เป็นทั้งที่อยู่อาศัยและพื้นที่พาณิชยกรรม
โดยกายภาพ พื้นที่ย่านอารีย์มีการเชื่อมต่อกันระหว่างซอยต่างๆ ดี บรรยากาศคล้ายย่านนิมมานเหมินทร์ของเชียงใหม่ และเป็นย่านที่แสดงสัญญะการบริโภคแบบชนชั้นกลาง ที่มีความเก๋และชิคไม่แพ้กัน มีผู้ลงทุนจากภายนอกจำนวนไม่น้อยสนใจเข้ามาทำธุรกิจในพื้นที่
แต่ทำไมอารีย์จึงยังคงลักษณะความผสมผสานไว้ได้ ไม่ถูกเปลี่ยนไปเป็นร้านค้าแทบทั้งพื้นที่แบบย่านนิมมานฯ?
จากการสำรวจของ UddC พบข้อสังเกตที่น่าสนใจว่าปรากฏการนี้อาจเป็นเพราะ อารีย์มีกลุ่มคนหลายฝ่ายช่วยคานอำนาจการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการที่คนในอารีย์มีอำนาจต่อรองจากหลายปัจจัย ได้แก่ 1. มูลค่าที่ดินที่สูงขึ้นจากการตัดผ่านของรถไฟฟ้าและการพัฒนาเมือง 2. มีการรวมกลุ่มกันอย่างแข็งขัน ยากที่จะยอมขายที่ดินหรือย้ายออกไป 3. คนในอารีย์มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ กับผู้มีอำนาจในพื้นที่อยู่เสมอ เช่น โน้มน้าวไม่ให้เกิดการสร้างคอนโดฯ เพิ่มขึ้น เพราะเห็นว่าอารีย์มีตึกสูงเยอะเกินไปแล้ว
สิ่งต่างๆ เหล่านี้จึงทำให้อารีย์ยังคงมีทั้งที่อยู่อาศัยและพื้นที่พาณิชกรรมรวมอยู่ด้วยกันได้อย่างน่าสนใจ
เดิน!: “ตามหาร้านขายยา ใกล้ๆ หน้ากรมประชาสัมพันธ์ ระหว่างทางคุณจะพบร้านอาหารเก๋ๆ หลายร้าน และ ครีเอทีฟสแปซ แห่งใหม่ของอารีย์อย่าง Made Here on Earth ที่มีเครื่องมือเครื่องจักรให้คุณเข้ามาใช้สร้างสรรค์งานด้วยตัวเองได้” ภาพ Made Here on Earth ภาพจาก https://www.bkkmenu.com/restaurant/Made-Here-on-Earth ส่อง! : “เส้นทางที่คุณจะได้พบข้างหน้า อาจจะไม่มีทางเท้าให้คุณเดิน คุณจะมีวิธีเดินอย่างไร? และมีวิธีไหนบ้างที่จะทำให้การเดินบนถนนที่ไม่มีทางเท้านั้นปลอดภัยยิ่งขึ้น? |