เดิน ส่อง ย่าน: Walkability Test- White Rabbit
ร้าน White Rabbit: สร้างสรรค์ให้น่าเดิน
ร้านกาแฟ White Rabbit เป็นร้านกาแฟที่สร้างบรรยากาศเก๋ๆ น่านั่ง เจ้าของร้านบอกว่าต้องใช้เวลาประเมินอยู่นานว่าจะเปิดร้านไหม ปรากฏว่าหลังเปิดแล้ว ลูกค้าประจำคือคนในย่านนี่เอง
ข้างๆ ร้าน White Rabbit คือร้าน The Decorum ร้านสูทที่อยู่ในซอย นำเข้าสูทหรูจากอิตาลีเป็นหลัก
คุณคิดว่าการที่จู่ๆ ก็มีร้านเก๋สองร้านนี้อยู่บริเวณปากซอยนั้น บอกอะไรกับเราบ้าง?
ในย่านอารีย์ มีร้านฮิปๆ แบบนี้ซ่อนตัวอยู่ไม่น้อย ซึ่งมีลักษณะของการปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยมาเป็นร้านรูปแบบต่างๆ ทั้งโดยคนในพื้นที่เองและนักลงทุนจากภายนอกที่เห็นศักยภาพของย่าน ผู้ประกอบการบางรายสะท้อนว่า ที่เลือกเปิดร้านในอารีย์เป็นเพราะย่านนี้มีความเป็นมิตร มีฐานลูกค้าที่แน่นอนและมีกำลังซื้อสูง จนบางรายรู้สึกผูกพันกับพื้นที่ และย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ที่นี่เลย
ซอยต่างๆ ที่นี่มีการเชื่อมต่อกันดี บรรยากาศคล้ายย่านนิมมานเหมินทร์ของเชียงใหม่ ซึ่งความเป็นย่านที่รวมร้าน
ฮิปๆ แบบนี้ ช่วยดึงดูดคนให้เข้ามาเที่ยวชมพื้นที่มากขึ้น และย้อนกลับไปดึงดูดการลงทุนเพิ่มขึ้นด้วยอย่างเป็นพลวัต
Kevin Lynch สถาปนิกนักทฤษฎี เคยกล่าวว่า “การรับรู้ย่านของผู้คน ขึ้นกับความสามารถในการสังเกตเส้นทางและจดจำบรรยากาศแวดล้อม”
คุณคิดว่า ผู้คนรับรู้ย่านอารีย์ในแบบใด?
เดิน! :
กลับไปที่จุดเริ่มต้น Fab Café
ส่อง! :
“ลองวัดความกว้างของทางเท้าจากจุดนี้ไปด้วยความยาวของฝ่าเท้าคุณ และจดบันทึกว่ามีความกว้างเท่าไหร่บ้าง ทางข้างหน้าอาจจะไม่มีทางเท้าให้คุณเดิน คุณจะมีวิธีเดินอย่างไร? และมีวิธีไหนบ้างที่จะทำให้การเดินบนถนนที่ไม่มีทางเท้านั้นปลอดภัยยิ่งขึ้น? โปรดระวัง!”
เมืองจะ ‘เดินดี’ ต้องมี สัณฐานของทางเท้า หรือ ลักษณะของทางเท้า ที่ดี
ตามมาตรฐานผังเมืองโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง กำหนดให้บริเวณย่านพาณิชยกรรม รวมทั้งย่านที่อยู่อาศัย ควรมีทางเท้าความกว้างไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร
แต่ไม่ใช่แค่ความกว้างเท่านั้นที่มีผลต่อการเดิน ความสูงต่ำ ความเรียบสม่ำเสมอ ความสะอาด ก็ส่งผลต่อคุณภาพการเดินของเราเช่นกัน
คุณคงจะพอนึกออกว่าเวลาหน้าฝนการเดินบนทางเท้านั้นต้องเสี่ยงและลำบากขนาดไหน
ร้าน White Rabbit: สร้างสรรค์ให้น่าเดิน
ร้านกาแฟ White Rabbit เป็นร้านกาแฟที่สร้างบรรยากาศเก๋ๆ น่านั่ง เจ้าของร้านบอกว่าต้องใช้เวลาประเมินอยู่นานว่าจะเปิดร้านไหม ปรากฏว่าหลังเปิดแล้ว ลูกค้าประจำคือคนในย่านนี่เอง
ข้างๆ ร้าน White Rabbit คือร้าน The Decorum ร้านสูทที่อยู่ในซอย นำเข้าสูทหรูจากอิตาลีเป็นหลัก
คุณคิดว่าการที่จู่ๆ ก็มีร้านเก๋สองร้านนี้อยู่บริเวณปากซอยนั้น บอกอะไรกับเราบ้าง?
ในย่านอารีย์ มีร้านฮิปๆ แบบนี้ซ่อนตัวอยู่ไม่น้อย ซึ่งมีลักษณะของการปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยมาเป็นร้านรูปแบบต่างๆ ทั้งโดยคนในพื้นที่เองและนักลงทุนจากภายนอกที่เห็นศักยภาพของย่าน ผู้ประกอบการบางรายสะท้อนว่า ที่เลือกเปิดร้านในอารีย์เป็นเพราะย่านนี้มีความเป็นมิตร มีฐานลูกค้าที่แน่นอนและมีกำลังซื้อสูง จนบางรายรู้สึกผูกพันกับพื้นที่ และย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ที่นี่เลย
ซอยต่างๆ ที่นี่มีการเชื่อมต่อกันดี บรรยากาศคล้ายย่านนิมมานเหมินทร์ของเชียงใหม่ ซึ่งความเป็นย่านที่รวมร้าน
ฮิปๆ แบบนี้ ช่วยดึงดูดคนให้เข้ามาเที่ยวชมพื้นที่มากขึ้น และย้อนกลับไปดึงดูดการลงทุนเพิ่มขึ้นด้วยอย่างเป็นพลวัต
Kevin Lynch สถาปนิกนักทฤษฎี เคยกล่าวว่า “การรับรู้ย่านของผู้คน ขึ้นกับความสามารถในการสังเกตเส้นทางและจดจำบรรยากาศแวดล้อม”
คุณคิดว่า ผู้คนรับรู้ย่านอารีย์ในแบบใด?
เดิน! : กลับไปที่จุดเริ่มต้น Fab Café ส่อง! : “ลองวัดความกว้างของทางเท้าจากจุดนี้ไปด้วยความยาวของฝ่าเท้าคุณ และจดบันทึกว่ามีความกว้างเท่าไหร่บ้าง ทางข้างหน้าอาจจะไม่มีทางเท้าให้คุณเดิน คุณจะมีวิธีเดินอย่างไร? และมีวิธีไหนบ้างที่จะทำให้การเดินบนถนนที่ไม่มีทางเท้านั้นปลอดภัยยิ่งขึ้น? โปรดระวัง!” |
เมืองจะ ‘เดินดี’ ต้องมี สัณฐานของทางเท้า หรือ ลักษณะของทางเท้า ที่ดี
ตามมาตรฐานผังเมืองโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง กำหนดให้บริเวณย่านพาณิชยกรรม รวมทั้งย่านที่อยู่อาศัย ควรมีทางเท้าความกว้างไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร
แต่ไม่ใช่แค่ความกว้างเท่านั้นที่มีผลต่อการเดิน ความสูงต่ำ ความเรียบสม่ำเสมอ ความสะอาด ก็ส่งผลต่อคุณภาพการเดินของเราเช่นกัน
คุณคงจะพอนึกออกว่าเวลาหน้าฝนการเดินบนทางเท้านั้นต้องเสี่ยงและลำบากขนาดไหน